ข้ามไปที่เนื้อหา

มองเห็น
ศักยภาพ

วิธีที่ทีมใน Google ใช้งาน AI เพื่อช่วยเหลือแพทย์ป้องกันอาการตาบอดในผู้ป่วยเบาหวาน

ในตอนนั้น Varun Gulshan นักวิทยาศาตร์ด้านการวิจัยของ Google กำลังมองหาโครงการที่ตรงตามเกณฑ์ที่คิดไว้ ดังนี้

โครงการควรใช้ประโยชน์จากความรู้ของเขาเรื่องการพัฒนาอัลกอริทึมของปัญญาประดิษฐ์ (AI) และกระตุ้นความสนใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และการแพทย์ของเขาด้วย และจะดียิ่งกว่า หากโครงการนี้จะช่วยผู้คนในอินเดียซึ่งเป็นประเทศบ้านเกิดของ Gulshan

ผมเริ่มคิดเรื่องการวิจัยที่ช่วยแก้ปัญหาที่สำคัญยิ่งขึ้น ก็เลยอยากนำการรู้จำรูปภาพมาใช้กับสิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคม

Varun Gulshan นักวิทยาศาสต์ด้านการวิจัยของ Google

เขารีบส่งอีเมลหา Phil Nelson ผู้อำนวยการของ Google Accelerated Science (GAS) เพื่อถามว่าตอนนี้มีโครงการในลักษณะดังกล่าวอยู่หรือเปล่า

ไม่กี่สัปดาห์หลังจากนั้น Gulshan ก็เปิดไดรฟ์ดิจิทัลที่มีภาพสแกนจอตาที่ไม่เปิดเผยตัวบุคคลหลายร้อยภาพจากโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในอินเดีย Nelson คิดว่าเขามีโครงการที่เหมาะสำหรับ Gulshan แต่เขาต้องแน่ใจก่อนว่า โมเดลปัญญาประดิษฐ์จะเรียนรู้วิธีระบุภาพที่แสดงสัญญาณต่างๆ ของสาเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งของภาวะตาบอด ซึ่งเป็นโรคที่ชื่อว่าภาวะเบาหวานขึ้นจอตาได้หรือไม่

Gulshan กล่าวว่า "นี่เป็นการจับคู่ความรู้ที่สมบูรณ์แบบมากเลยสำหรับผม" โดย Gulshan มีประสบการณ์ในการทำงานกับ AI เพื่อฝึกการรู้จำท่าทางมือ เขาเล่าว่า "เมื่อผมมองรูปเหล่านี้ ผมบอกคุณได้เลยว่าการเรียนรู้เชิงลึกทำงานได้ดีพอ เรานำการเรียนรู้นี้มาใช้แก้ปัญหาเหล่านี้ได้"

ความกังวลที่เพิ่มขึ้น

อินเดียมีผู้ป่วยเบาหวานถึง 70 ล้านรายและปัญหาภาวะเบาหวานขึ้นจอตาก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยโรคเบาหวานจะทำให้เกิดแผลที่หลังจอตา ซึ่งอาจทำให้ตาบอดสนิท และชาวอินเดียที่เป็นโรคเบาหวาน 18 เปอร์เซ็นต์มีอาการเบาหวานขึ้นจอตาแล้ว เบาหวานขึ้นจอตาถือเป็นปัญหาสากล เนื่องจากมีผู้ป่วยเบาหวาน 415 ล้านรายที่เสี่ยงต่อภาวะตาบอดอยู่ทั่วโลก (สหรัฐอเมริกา จีน และอินเดียมีผู้ป่วยมากที่สุด)

ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน 70 ล้านรายในอินเดียมีภาวะเบาหวานขึ้นจอตา

แต่ข่าวดีก็คือ การสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรนั้นเป็นเรื่องที่ป้องกันได้ สำหรับคนไข้ที่ได้รับการวินิจฉัยรวดเร็วพอ การดูแลรักษาด้วยยา การบำบัด การออกกำลังกาย และการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์จะช่วยป้องกันความเสียหายเพิ่มเติมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากๆ

ความท้าทาย

การรับรู้เป็นปัญหาใหญ่ของภาวะเบาหวานขึ้นจอตา ดร. Rajiv Raman แพทย์ผ่าตัดจอตาที่โรงพยาบาลจักษุ Sankara Nethralaya ในเจนไน อินเดีย กล่าวว่าคนไข้เบาหวานจำนวนมากทึกทักเอาว่าสัญญาณแรกเริ่มของโรคเป็นเพียงปัญหาด้านการมองเห็นเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น การอธิบายเกี่ยวกับโรคนี้ยังเป็นเรื่องยากเลยเพราะในภาษาฮินดีไม่มีคำว่า "จอตา" ด้วยซ้ำ "เรามีคำเรียกโรคต้อกระจก และมีคำเรียกต้อหินทั้งในภาษาฮินดีและทมิฬด้วย แต่สำหรับคำว่าภาวะเบาหวานขึ้นจอตา เราไม่มีคำที่จะแปลออกมาได้"

รูปของดร. Rajiv Raman

ดร. Rajiv Raman แพทย์ผ่าตัดจอตาที่ Sankara Nethralaya

เจนไน อินเดีย

แม้ว่าจักษุแพทย์จะอธิบายตัวโรคและวิธีที่การตรวจอย่างเป็นประจำจะช่วยตรวจสอบการเติบโตของโรคได้ ความท้าทายที่แท้จริงคือการทำให้มีการสแกนจอตาให้แก่คนไข้ที่มีภาวะเสี่ยงตั้งแต่แรก สำหรับชุมชนทุรกันดารทั่วโลก ความแพร่หลายของภาวะเบาหวานขึ้นจอตาระยะที่เป็นมากนั้นมักเป็นผลมาจากโครงสร้างพื้นฐานมากกว่าการรักษาทางการแพทย์ การเดินทางจากบ้านไปสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดอาจใช้เวลานาน ซึ่งมักทำให้การไปพบแพทย์บ่อยๆ ตามนัดเป็นเรื่องยาก

"คนไข้จำนวนมากในพื้นที่ทุรกันดารมีภาวะเบาหวานขึ้นจอตาระยะเป็นมาก แต่พวกเขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตนเองเป็นโรคเบาหวาน"

คนไข้ยากจนที่ต้องดูแลคนในครอบครัวมักไม่ดูแลตนเอง และมักละเลยอาการจนภาวะเบาหวานขึ้นจอตาเริ่มมีอาการหนักเกินกว่าจะปล่อยไว้ ซึ่งบ่อยครั้งมักสายเกินกว่าจะรักษาแล้ว ดร. Sheila John หัวหน้าแผนกการตรวจจอตาทางไกลที่ Sankara Nethralaya กล่าวว่า "คนไข้จำนวนมากในพื้นที่ทุรกันดารมีภาวะเบาหวานขึ้นจอตาระยะเป็นมาก แต่พวกเขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตนเองเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งทำให้สูญเสียการมองเห็น คนไข้บางรายตาบอดไปแล้วข้างหนึ่ง และยังเหลืออีกข้างหนึ่งให้เรารักษา"

คนไข้ยืนเข้าคิวอยู่นอกโรงพยาบาลจักษุ Sankara Nethralaya

คนไข้รออยู่นอกโรงพยาบาลจักษุ Sankara Nethralaya

เจนไน อินเดีย

การรวมทีม

อุปสรรคสำคัญที่สุดในการวินิจฉัยภาวะเบาหวานขึ้นจอตาคือปริมาณมหาศาลของเคสผู้ป่วย เฉพาะแค่ในอินเดีย ก็มีผู้ป่วยเบาหวานถึง 70 ล้านรายที่ต้องได้รับการตรวจภาวะเบาหวานขึ้นจอตา แต่จำนวนบุคลากรทางการแพทย์ที่ผ่านการฝึกนั้นมีไม่มากพอที่จะตรวจภาพสแกนจอตาของทุกคนได้

"เราต้องตรวจ[คนไข้]ตั้งแต่เนิ่นๆ ตอนที่การมองเห็นยังดีอยู่

แต่การให้แพทย์เข้าไปเปิดคลินิกในพื้นที่ทุรกันดารที่อาจมีคนไข้อยู่เพียงไม่กี่คนนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย ดร. R. Kim ผู้อำนวยการฝ่ายแพทย์จากโรงพยาบาลจักษุ Aravind ในเมืองมทุราย อินเดียกล่าวว่า "เราต้องตรวจคนไข้ตั้งแต่เนิ่นๆ ตอนที่การมองเห็นยังดีอยู่ แล้วเราจะทำอย่างนั้นได้อย่างไรล่ะ" ดร. Kim ถามขึ้น "เพราะการตรวจภาพสแกนของคนไข้ถึง 70 ล้านรายนั้นเป็นเรื่องที่ยากเกินความสามารถของมนุษย์"

Florence Thng, ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ของ Verily
Florence Thng
ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ของ Verily
Philip Nelson, ผู้อำนวยการของ Google Accelerated Sciences
Philip Nelson
ผู้อำนวยการของ Google Accelerated Sciences
Peter Wubbels, วิศวกรของ Verily
Peter Wubbels
วิศวกรของ Verily
Naama Hammel, จักษุแพทย์ของทีม Google Brain
Naama Hammel
จักษุแพทย์ของทีม Google Brain
Lily Peng, ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ของทีม Google Brain
Lily Peng
ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ของทีม Google Brain
Kasumi Widner, ผู้จัดการโครงการของทีม Google Brain
Kasumi Widner
ผู้จัดการโครงการของทีม Google Brain
Dale Webster, วิศวกรของทีม Google Brain
Dale Webster
วิศวกรของทีม Google Brain
Florence Thng, ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ของ Verily
Florence Thng
ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ของ Verily
Philip Nelson, ผู้อำนวยการของ Google Accelerated Sciences
Philip Nelson
ผู้อำนวยการของ Google Accelerated Sciences
Peter Wubbels, วิศวกรของ Verily
Peter Wubbels
วิศวกรของ Verily
Naama Hammel, จักษุแพทย์ของทีม Google Brain
Naama Hammel
จักษุแพทย์ของทีม Google Brain
Lily Peng, ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ของทีม Google Brain
Lily Peng
ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ของทีม Google Brain
Kasumi Widner, ผู้จัดการโครงการของทีม Google Brain
Kasumi Widner
ผู้จัดการโครงการของทีม Google Brain
Dale Webster, วิศวกรของทีม Google Brain
Dale Webster
วิศวกรของทีม Google Brain

เราอาจช่วยรักษาดวงตาของผู้คนได้หลายล้านคน หากปัญญาประดิษฐ์ของ Google เข้ามาช่วยทำให้การวินิจฉัยภาวะเบาหวานขึ้นจอตาง่ายขึ้น ด้วยการประเมินภาพสแกนจอตาได้อย่างถูกต้อง

ส่วนที่ยุ่งยากคือการสร้างชุดข้อมูลไว้ให้โมเดล AI เรียนรู้ ซึ่งเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดระดับและจำแนกกลุ่มภาพสแกนทั้งหมดทีละภาพเพื่อแบ่งระดับตามความร้ายแรง สุดท้ายการแก้ไขปัญหานั้นต้องอาศัยจักษุแพทย์จำนวนมากมาช่วยจัดระดับภาพสแกน และเราจึงนำระดับที่ภาพสแกนได้มาสอนโมเดล AI

แต่ทีมจะต้องใช้ข้อมูลคุณภาพจำนวนมากกว่านี้ หากจะสอนโมเดล AI ให้เข้าใจความแตกต่างเพียงเล็กน้อยในภาพเพื่ออ่านภาพสแกนจอตาได้อย่างแม่นยำ

การสอนโมเดล

ในระยะแรก ทีมได้รับความช่วยเหลือจากจักษุแพทย์จาก Aravind และ Sankara Nethralaya ในการจำแนกภาพสแกนจอตา หลังจากนั้นไม่กี่เดือน โมเดลก็ได้รับการฝึกให้ระบุตัวบ่งชี้หลักของภาวะเบาหวานขึ้นจอตา เช่น ความเสียหายของเนื้อเยื่อประสาท อาการบวม และภาวะเลือดออก และเมื่อได้ชุดข้อมูลที่ใหญ่ขึ้น Gulshan ก็มั่นใจว่าพวกเขาจะสร้างโมเดลที่แม่นยำขึ้นได้

จากนั้นเราก็ได้รับความช่วยเหลือจาก ดร. Jorge Cuadros หัวหน้าของ Eye Picture Archive Communication System (EyePACS) ซึ่งเป็นเครือข่ายการรักษาทางไกลที่เชื่อมต่อคนไข้ในพื้นที่ทุรกันดารในสหรัฐอเมริกากับจักษุแพทย์เพื่อสแกนหาภาวะเบาหวานขึ้นจอตา แต่คนไข้ที่ได้รับการตรวจโดย EyePACS ต้องใช้เวลารอหลายสัปดาห์กว่าจะได้รับภาพสแกนที่จัดระดับแล้ว และ ดร. Cuadros ก็ยินดีช่วยเหลืออย่างเต็มที่เพื่อให้การวินิจฉัยรวดเร็วขึ้น

ข้อมูลที่ EyePACS แชร์ให้เรานั้นเป็นข้อมูลของคนไข้ที่มีหลากหลายรูปแบบและมีจำนวนมากกว่าที่ทีม AI รวบรวมได้ ณ ตอนนั้นถึง 100 เท่า ซึ่งหมายความว่าเราต้องจำแนกภาพสแกนจำนวนมากเพราะภาพแต่ละภาพต้องได้รับการจัดระดับหลายครั้งเพื่อทดแทนความไม่เท่ากันของผู้จัดระดับแต่ละคน Dale Webster วิศวกรซอฟต์แวร์ของ Google กล่าวว่า "โมเดลจะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่ผู้จัดระดับมักทำอย่างสม่ำเสมอ และผลลัพธ์ที่ได้คือการจัดระดับที่คลาดเคลื่อนน้อยลงและแม่นยำมากขึ้น"

ปัจจุบัน จักษุแพทย์เกือบ 100 รายได้จัดระดับภาพสแกนกว่าล้านครั้งสำหรับโมเดล AI

วิธีการทำงานของ AI

วิธีการทำงานของโมเดล AI (1/4)

จักษุแพทย์กว่า 50 คนได้ตรวจภาพสแกนจอตาที่ไม่เปิดเผยตัวบุคคลแล้วกว่า 1 ล้านภาพพร้อมระบุระดับภาวะเบาหวานขึ้นจอตาที่พบในแต่ละภาพ

วิธีการทำงานของโมเดล AI (1/4)

จักษุแพทย์กว่า 50 คนได้ตรวจภาพสแกนจอตาที่ไม่เปิดเผยตัวบุคคลแล้วกว่า 1 ล้านภาพพร้อมระบุระดับภาวะเบาหวานขึ้นจอตาที่พบในแต่ละภาพ

วิธีการทำงานของโมเดล AI (2/4)

ภาพสแกนแต่ละภาพจะได้รับการตรวจสอบหลายครั้ง และจักษุแพทย์จะจัดระดับเป็นระดับ 1 (ไม่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอตาปรากฏ) ถึง 5 (สัญญาณปรากฏชัดเจน)

วิธีการทำงานของโมเดล AI (3/4)

ภาพที่ได้รับการจัดระดับจะถูกป้อนเข้าสู่อัลกอริทึมการรู้จำภาพ เมื่อเราป้อนภาพที่ได้รับการจัดระดับหลายพันภาพเข้าอัลกอริทึม ระบบจะเริ่มเข้าใจสัญญาณของภาวะเบาหวานขึ้นจอตาในแบบเดียวกับที่จักษุแพทย์เข้าใจ

วิธีการทำงานของโมเดล AI (4/4)

หลังจากที่เราฝึกฝนอัลกอริทึมแล้ว เราก็นำอัลกอริทึมไปขับเคลื่อนแอปพลิเคชันที่เรียกว่า Automated Retinal Disease Assessment (ARDA) ได้ ผู้ใช้จะอัปโหลดภาพสแกนจอตาลงใน ARDA เพื่อให้แอปวิเคราะห์ภาวะเบาหวานขึ้นจอตาโดยทันที

จากโมเดลสู่เครื่องมือที่ใช้ได้จริง

สำหรับสมาชิกทุกคนในทีม เหตุผลหลักของการเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการนี้ คือไอเดียที่ว่า พวกเขาอาจทำให้โมเดลนี้กลายเป็นเครื่อง Automated Retinal Disease Assessment (การประเมินโรคในจอตาโดยอัตโนมัติหรือ ARDA) ที่ใช้ได้จริงก็ได้

บุคลากรหลักที่ทำให้โครงการเป็นจริงได้คือสมาชิกทีม Google อีกคนอย่าง Lily Peng และเธอเองในฐานะที่จบแพทย์มา ก็รู้สึกสนใจความเป็นไปได้ของการสร้างเครื่องมือที่จะมีประโยชน์ต่อการรักษาคนไข้ด้วย ซึ่งสมาชิกทีมจักษุวิทยาคนอื่นๆ ก็รู้สึกสนใจเช่นเดียวกัน

ฉันเห็นว่าเรามีไอเดียดีๆ และสิ่งที่อยากทำให้สำเร็จอยู่มากมาย จริงไหมคะ" เธอถามขึ้นมา "แต่ทำไมไอเดียบางส่วนไม่ได้มีการพัฒนาและนำไปใช้จริงล่ะ

Lily Peng จาก Google

Peng มีวิสัยทัศน์ว่า ARDA น่าจะนำไปใช้ในโรงพยาบาลได้ แต่การจะไปถึงจุดนั้นต้องได้รับการทดสอบและการอนุมัติตามกฎข้อบังคับก่อน ดังนั้น ทีมจึงมีเป้าหมายอยู่ 2 อย่างด้วยกัน ได้แก่ การทดลองทางคลินิกเพื่อทดสอบการใช้งาน ARDA กับคนไข้จริง และการเขียนงานวิจัยเกี่ยวกับผลการใช้งานเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของ American Medical Association (JAMA)

Nelson กล่าวว่า "เราอยากตีพิมพ์งานผ่าน JAMA เพราะ JAMA นั้นเกี่ยวข้องกับเวชปฏิบัติ เราไม่ได้แค่อยากจะพิสูจน์ว่าเราทำได้ แต่เราต้องการให้เครื่องมือของเราเป็นที่รู้จักในวงการแพทย์"

อีกขั้นตอนหนึ่งที่ต้องทำเพื่อจะได้นำเครื่อง ARDA ไปใช้งานจริงก็คือ การนำเสนอเครื่องต่อ Food and Drug Administration (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ FDA) Peng และ Nelson ได้ไปนำเสนอเครื่องร่วมกัน Peng ได้อธิบายประโยชน์ของ AI ไว้ได้อย่างยอดเยี่ยม และเธอยังเป็นผู้ประสานงานและล่ามหลักระหว่างทีมต่างๆ ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนา ARDA อีกด้วย

Gulshan กล่าวว่า "เธอพูดได้ทุกภาษาเลย ก็เลยคุยกับเราและเข้าใจความซับซ้อนทางเทคนิคของงานที่เราทำ และยังเข้าใจสิ่งที่แพทย์พูดถึง รวมถึงผลกระทบที่สัมพันธ์กันด้วย Lily นำข้อมูลจากทั้ง 2 ทีมและทำให้เกิดเป็นเครื่องมือที่เราจะนำไปใช้ได้จริงในคลินิก"

เครื่องมือที่ใช้ง่ายพอๆ กับปรอทวัดอุณหภูมิ

ไม่มีใครในทีม Google เคยมีประสบการณ์ในการสร้างเครื่องมือแพทย์มาก่อน พวกเขาเลยขอความช่วยเหลือจาก Verily บริษัทของ Alphabet ที่มุ่งเน้นการรักษาสุขภาพ (Alphabet เป็นเจ้าของ Google ด้วย) ให้ตรวจสอบข้อกำหนดทางกฎข้อบังคับและทางการแพทย์ในการทำให้เทคโนโลยี ARDA ได้รับอนุมัติเป็นเครื่องมือแพทย์

ARDA มีชื่อติดอยู่ในโครงการนำร่องก่อนรับใบรับรองของ FDA ที่เพิ่งประกาศเมื่อไม่นานมานี้ โดย Verily เป็น 1 ใน 9 บริษัทที่ได้รับเลือกจากบริษัทหลายร้อยแห่งที่สมัครเข้าร่วมโครงการ Verily อาศัยความเชี่ยวชาญของตนเพื่อช่วยให้มีการนำ ARDA ไปทดลองใช้ในโรงพยาบาลในอินเดีย ส่วน Gulshan เองก็ได้ย้ายกลับไปอินเดียเพื่อช่วยสอนวิธีใช้เครื่องมือดังกล่าวแก่แพทย์และพยาบาล

จักษุแพทย์มองหาความเสียหายในภาพสแกนดวงตาของคนไข้

การตรวจอย่างละเอียด

หลังจากที่เข้าพบนักทัศนมาตร คนไข้แต่ละรายที่ Sankara Nethralaya จะเข้าได้รับการตรวจโดยจักษุแพทย์ และหากจักษุแพทย์พบว่าดวงตาของคนไข้อาจมีความเสียหาย ก็ต้องมีการสแกนจอตา

Peng กล่าวว่า "การได้รับการอนุมัติตามกฎข้อบังคับก็เป็นเรื่องสำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญกว่าคือ แพทย์ที่ทำงานร่วมกับเราต้องรู้สึกมั่นใจกับสิ่งที่ทำและรู้สึกดีต่อการใช้ซอฟต์แวร์ จึงไม่ใช่แค่เรื่องความปลอดภัยและความมีประสิทธิภาพ แต่สิ่งสำคัญคือเครื่องมือนี้มีประโยชน์ต่อการรักษาจริงๆ ไหม"

ในการทดลองทางคลินิกล่าสุด เราใช้ ARDA เพื่อจัดระดับภาพสแกนของผู้ป่วยเบาหวาน 3,000 รายในโรงพยาบาล 2 แห่งที่อินเดีย เรานำระดับที่ได้ไปเทียบกับการประเมินของแพทย์ ซึ่งช่วยยืนยันการวิจัยที่ตีพิมพ์ใน JAMA เมื่อปี 2016 ที่ว่าโมเดลตรวจสอบภาพสแกนได้ดีในระดับเดียวกับบุคลากรทางการแพทย์ที่วินิจฉัยคนไข้อยู่

ดร. Rajiv Raman ตรวจภาพจอตาของคนไข้เพื่อดูสัญญาณของภาวะเบาหวานขึ้นจอตา

ดร. Rajiv Raman ตรวจภาพจอตาของคนไข้เพื่อหาสัญญาณของภาวะเบาหวานขึ้นจอตา

เจนไน อินเดีย

สำหรับ ดร. Cuadros ประโยชน์หลักของ ARDA นั้นคิดเป็นคณิตศาสตร์ง่ายๆ เขาชี้แจงว่าเปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยที่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอตาในสหรัฐอเมริกานั้นลดลง ซึ่งบ่งบอกว่าการรักษาเชิงป้องกันนั้นได้ผล แต่เนื่องจากอัตราของผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้นเพิ่มขึ้น จำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอตาโดยรวมจึงเท่าเดิม คนไข้ที่ต้องได้รับการสแกนจอตานั้นมีจำนวนมากขึ้น แต่ความต้องการผู้เชี่ยวชาญในการรักษานั้นยังคงเท่าเดิม

และจักษุแพทย์ก็มีปัญหาเรื่องการเงินด้วย

ผมควรตรวจคนไข้ให้ได้ถึง 3,000 คนทุกวัน ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยในความเป็นจริง" ดร. Raman กล่าว “จึงจำเป็นจริงๆ ที่ต้องมีตัวช่วย และ ARDA ก็เป็นผู้ช่วยของผม

ดร. Rajiv Raman จักษุแพทย์

ในสถานการณ์เหล่านี้ การนำความเชี่ยวชาญเข้ามาช่วยในการรักษาขั้นปฐมภูมิจะเป็นประโยชน์อย่างมาก ดร. Kim กล่าวว่า "ถ้าเราสามารถนำ ARDA มาใช้ในห้องตรวจของแพทย์ในการรักษาขั้นปฐมภูมิ ก็จะสร้างความแตกต่างได้อย่างมาก เพราะคุณจะสแกนคนไข้ได้มากขึ้น จักษุแพทย์ก็จะได้มุ่งเน้นการรักษาไปที่คนไข้ที่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอตาเท่านั้น"

ฉันไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าเบาหวานทำให้ตาบอดได้ ปกติฉันจะขี่จักรยานไปที่ต่างๆ อยู่มาวันหนึ่งตาข้างซ้ายก็พร่ามัว หลังจากนั้น 8 เดือน ตาทางซ้ายของฉันก็มองอะไรไม่เห็นอีกเลย

Elumalai คนไข้

จริงๆ แล้ว ดร. Raman คาดหวังว่าเครื่องมือจะเป็นเครื่องมือที่ใช้ง่ายๆ เหมือนเครื่องวัดอุณหภูมิหรือเครื่องวัดน้ำตาลในเลือดที่ผู้ป่วยเบาหวานใช้อยู่แล้ว เขาบอกว่า "หน้าที่ของผมไม่ใช่การตรวจหาภาวะเบาหวานขึ้นจอตา แต่ผมมีหน้าที่ยิงเลเซอร์ ฉีดยา ผ่าตัด และช่วยบรรเทาการมองไม่เห็นของคนไข้"

แต่แม้ว่าแต่ละคนจะมีทิศทางเกี่ยวกับการวินิจฉัยไม่เหมือนกัน ทุกคนก็เห็นตรงกันว่าการรับรู้เป็นหัวใจของการมีสุขภาพที่ดี แท้จริงแล้ว การได้รับการวินิจฉัยภาวะเบาหวานขึ้นตานั้นจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นในภาพรวม ดร. Cuadros กล่าวว่า "หากคุณตรวจพบโรคเกี่ยวกับจอตาตั้งแต่เนิ่นๆ ตอนที่ยังไม่ต้องมีการรักษา การได้ทราบว่าตนมีโอกาสสูญเสียการมองเห็นทำให้คนไข้เข้าใจว่าเบาหวานเริ่มมีผลกระทบต่อร่างกายของเขาแล้ว ซึ่งเราหวังว่าความรู้นี้จะทำให้พวกเขาตั้งใจควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีขึ้น"

Mythili คนไข้

Mythili เป็นคนไข้ของดร. Rajiv Raman เธอเป็นโรคเบาหวานมา 19 ปีและได้ทราบว่าตนเองมีภาวะเบาหวานขึ้นจอตาเมื่อ 5 ปีก่อน เธอทราบดีว่าโรคเบาหวานอาจส่งผลกระทบต่อการมองเห็น เธอจึงพบแพทย์เพื่อตรวจดวงตาอยู่เป็นประจำ

ความก้าวหน้าทางการวินิจฉัย

งานวิจัยอีกหลายงานกำลังจะตามมา ซึ่งรวมถึงการทดลองทางคลินิกอย่างต่อเนื่องในอินเดีย โดยการตรวจจอตาครั้งแรกจะเกิดขึ้นในขั้นตอนนี้ ทีม Google และ Verily มีความหวังว่าเครื่องมือนี้จะช่วยคนไข้ได้มากกว่าการตรวจหาภาวะเบาหวานขึ้นจอตา Nelson กล่าวว่า "หลังจาก [บทความ JAMA] เราก็ก้าวหน้าไปอีกขั้น เมื่อเร็วๆ นี้ เราได้ตีพิมพ์บทความลง Nature Biomedical Engineering เพื่อแสดงว่า นอกจากเราจะใช้ภาพจอตามาคาดคะเนปัจจัยที่มีผลต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดหลายโรคได้แล้ว ภาพดังกล่าวยังช่วยคาดคะเนความเสี่ยงของอาการจากโรคหัวใจและหลอดเลือดได้อีกด้วย

ในอนาคตข้างหน้า การวินิจฉัยโรคร้ายแรงอาจเป็นเรื่องง่ายพอๆ กับการวัดไข้หรือวัดความดันโลหิตเลยก็ได้ แต่สำหรับอนาคตอันใกล้ อัลกอริทึม AI ที่ช่วยให้แพทย์พบภาวะเบาหวานขึ้นจอตาได้อย่างรวดเร็วอาจทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานหลายล้านคนไม่ต้องสูญเสียการมองเห็นไปก็ได้

เรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

คุณพ่อคนหนึ่งใช้ YouTube เพื่อประดิษฐ์ลูกตาปลอมที่ดีขึ้นให้ลูกสาว

คุณพ่อคนหนึ่งใช้ YouTube เพื่อประดิษฐ์ลูกตาปลอมที่ดีขึ้นให้ลูกสาว

วิธีที่สมาร์ทโฟนอาจช่วยชีวิตคุณได้ในกรณีฉุกเฉิน

วิธีที่สมาร์ทโฟนอาจช่วยชีวิตคุณได้ในกรณีฉุกเฉิน

ผู้หญิงคนหนึ่งช่วยชีวิตผู้คนด้วยมอเตอร์ไซค์ ธนาคารเลือด และ Google Maps ได้อย่างไร

ผู้หญิงคนหนึ่งช่วยชีวิตผู้คนด้วยมอเตอร์ไซค์ ธนาคารเลือด และ Google Maps ได้อย่างไร

พบกับทีมที่ใช้แมชชีนเลิร์นนิงเพื่อช่วยกอบกู้เหล่าผึ้งตัวน้อยของโลก

พบกับทีมที่ใช้แมชชีนเลิร์นนิงเพื่อช่วยกอบกู้เหล่าผึ้งตัวน้อยของโลก

เมื่อจักรยานเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยฟื้นความทรงจำที่โรคสมองเสื่อมพรากไป

เมื่อจักรยานเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยฟื้นความทรงจำที่โรคสมองเสื่อมพรากไป

คุณพ่อคนหนึ่งใช้ YouTube เพื่อประดิษฐ์ลูกตาปลอมที่ดีขึ้นให้ลูกสาว

คุณพ่อคนหนึ่งใช้ YouTube เพื่อประดิษฐ์ลูกตาปลอมที่ดีขึ้นให้ลูกสาว

วิธีที่สมาร์ทโฟนอาจช่วยชีวิตคุณได้ในกรณีฉุกเฉิน

วิธีที่สมาร์ทโฟนอาจช่วยชีวิตคุณได้ในกรณีฉุกเฉิน

ผู้หญิงคนหนึ่งช่วยชีวิตผู้คนด้วยมอเตอร์ไซค์ ธนาคารเลือด และ Google Maps ได้อย่างไร

ผู้หญิงคนหนึ่งช่วยชีวิตผู้คนด้วยมอเตอร์ไซค์ ธนาคารเลือด และ Google Maps ได้อย่างไร

พบกับทีมที่ใช้แมชชีนเลิร์นนิงเพื่อช่วยกอบกู้เหล่าผึ้งตัวน้อยของโลก

พบกับทีมที่ใช้แมชชีนเลิร์นนิงเพื่อช่วยกอบกู้เหล่าผึ้งตัวน้อยของโลก

เมื่อจักรยานเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยฟื้นความทรงจำที่โรคสมองเสื่อมพรากไป

เมื่อจักรยานเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยฟื้นความทรงจำที่โรคสมองเสื่อมพรากไป

คุณพ่อคนหนึ่งใช้ YouTube เพื่อประดิษฐ์ลูกตาปลอมที่ดีขึ้นให้ลูกสาว

คุณพ่อคนหนึ่งใช้ YouTube เพื่อประดิษฐ์ลูกตาปลอมที่ดีขึ้นให้ลูกสาว

วิธีที่สมาร์ทโฟนอาจช่วยชีวิตคุณได้ในกรณีฉุกเฉิน

วิธีที่สมาร์ทโฟนอาจช่วยชีวิตคุณได้ในกรณีฉุกเฉิน

ผู้หญิงคนหนึ่งช่วยชีวิตผู้คนด้วยมอเตอร์ไซค์ ธนาคารเลือด และ Google Maps ได้อย่างไร

ผู้หญิงคนหนึ่งช่วยชีวิตผู้คนด้วยมอเตอร์ไซค์ ธนาคารเลือด และ Google Maps ได้อย่างไร

พบกับทีมที่ใช้แมชชีนเลิร์นนิงเพื่อช่วยกอบกู้เหล่าผึ้งตัวน้อยของโลก

พบกับทีมที่ใช้แมชชีนเลิร์นนิงเพื่อช่วยกอบกู้เหล่าผึ้งตัวน้อยของโลก

เมื่อจักรยานเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยฟื้นความทรงจำที่โรคสมองเสื่อมพรากไป

เมื่อจักรยานเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยฟื้นความทรงจำที่โรคสมองเสื่อมพรากไป

กลับไปด้านบน