วิธีที่ Jason Barnes และคนอื่นๆ บุกเบิกเส้นทางร่วมกับชุมชนผู้พิการไปสู่โลกที่เปิดกว้างสำหรับทุกคน
Jason Barnes หลงรักการตีกลองมาตั้งแต่เด็ก ซึ่งความรักนี้ไม่ได้เปลี่ยนไปเลยเมื่อเขาต้องเสียแขนเพราะอุบัติเหตุจากไฟฟ้าตอนที่อายุ 22 ปี เกือบ 10 ปีหลังจากนั้น ความหลงใหลเรื่องดนตรีของ Jason ได้นำไปสู่การสร้างหนึ่งในแขนเทียมที่ทันสมัยที่สุดในโลกขึ้นมา ทุกวันนี้ เขาเป็นหนึ่งในผู้พิการหลายล้านคนที่ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองรัก
เทคโนโลยีที่ออกแบบโดยอาศัยความร่วมมือกับชุมชนผู้พิการจะมีประโยชน์ต่อทุกคนมากยิ่งขึ้นในท้ายที่สุด ผู้คนในชุมชนผู้พิการมาเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์เครื่องไม้เครื่องมือที่ช่วยให้พวกเขาและคนอื่นๆ ไล่ตามความฝันและใช้ชีวิตในแบบที่ตัวเองต้องการกันมากขึ้นเรื่อยๆ
เปิดประตูสู่นวัตกรรม
Jason Barnes หัดตีกลองก่อนที่เขาจะพูดได้เสียอีก "ฉันจำได้ว่าตอนนั้นเขาอายุ 2 ขวบ" Maggie คุณแม่ของเขาเล่า "ทุกครั้งที่เราเปิดเพลง เขาก็จะเริ่มเคาะเก้าอี้เด็กของตัวเอง หรือโต๊ะกินข้าว หรืออะไรก็ตามที่เอื้อมถึง" ในปี 2012 ตอนที่เขาอายุ 22 ปี Jason ต้องสูญเสียมือขวาเพราะอุบัติเหตุจากไฟฟ้า เหตุการณ์นี้เป็นจุดเริ่มต้นชีวิตบทใหม่ของเขา
ตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมา Jason ได้ร่วมกับ Gil Weinberg นักวิทยาการหุ่นยนต์ชื่อดังและผู้ก่อตั้งศูนย์จอร์เจียเทคเพื่อเทคโนโลยีด้านดนตรี (Georgia Tech Center for Music Technology) ในการพัฒนาแขนหุ่นยนต์ตีกลองที่ทันสมัยที่สุดในโลกขึ้นมา การออกแบบล่าสุดของพวกเขาใช้ TensorFlow ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มแมชชีนเลิร์นนิงแบบโอเพนซอร์สของ Google
"การทำให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้งานเทคโนโลยีได้จะนำไปสู่นวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่และรวดเร็วขึ้น"
Sarah Sirajuddin หัวหน้าวิศวกรทีม TensorFlow ของ Google
แมชชีนเลิร์นนิงสามารถทำงานต่างๆ ที่เดิมทีต้องอาศัยสติปัญญาของมนุษย์ เช่น การรับรู้ภาพ การจดจำคำพูด การตัดสินใจ และการแปล "เป้าหมายสูงสุดของเราคือการออกแบบให้ใครๆ ก็ใช้งานได้ง่ายเหมือนที่ใช้ Gmail" Sarah Sirajuddin หัวหน้าวิศวกรทีม TensorFlow ของ Google กล่าว "ยิ่งทำให้เทคโนโลยีเข้าถึงได้มากขึ้นเท่าไร เราก็ยิ่งทำให้ผู้คนมีความสามารถในการสร้างโซลูชันของตัวเองมากขึ้นเท่านั้น"
แทนที่จะออกแบบให้เสร็จแล้วค่อยส่งไปให้ Jason ทดสอบทีหลัง Gil เลือกทำงานกับเขาในห้องปฏิบัติการเพื่อแก้ไขเวอร์ชันต่างๆ ของแขนเทียมซ้ำไปซ้ำมาในระหว่างที่สร้าง สำหรับ Jason แล้ว นี่คือประสบการณ์ใหม่
"ผมรู้สึกโชคดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการนี้ ที่ผ่านมา จะมีช่วงเวลาที่ผมต้องพยายามปรับตัวเข้ากับอุปกรณ์ใหม่เสมอๆ แต่ด้วยวิธีนี้ กลับเป็นเจ้าอุปกรณ์ที่ปรับเข้าหาผม"
Jason Barnes
ร่วมมือกันเพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีกว่า
"ถ้าไม่เคยต้องพึ่งพาเทคโนโลยีความช่วยเหลือพิเศษมาก่อนเลย คุณจะรู้วิธีออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีความช่วยเหลือพิเศษได้ดีที่สุดได้อย่างไร คำตอบก็คือไม่มีทางรู้"
Vint Cerf รองประธานและ Chief Internet Evangelist ที่ Google
การร่วมมือกับชุมชนผู้พิการคือพื้นฐานของกระบวนการออกแบบที่ Google ไม่ว่าจะเป็นการร่วมมือกันในเทคโนโลยีใหม่เพื่อเติมเต็มความต้องการบางอย่างหรือการทำซ้ำเพื่อปรับปรุงเครื่องมือหลักก็ตาม
ตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นมา มีผู้เข้าร่วมเกือบ 1,000 คนอัดเสียงตัวอย่างคำพูดมากกว่า 1,000 ชั่วโมงใน Project Euphonia ซึ่งโปรเจ็กต์นี้สร้างขึ้นเพื่อช่วยให้คนอื่นเข้าใจผู้ที่มีความบกพร่องด้านการพูดมากขึ้นผ่านเครื่องมือที่เปิดใช้งานด้วยเสียงอย่าง Google Assistant ปัจจุบัน โมเดลการจดจำคำพูดมากมายไม่ได้ฝึกจากเสียงของผู้ที่มีความบกพร่องด้านการพูดเพราะไม่มีข้อมูลเพียงพอให้ใช้งาน เพื่อแก้ปัญหานี้ ทีมงานจึงได้ร่วมมือกับพันธมิตรอย่างสถาบันการพัฒนาการรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (ALS Therapy Development Institute) ในการรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นเพื่อทำให้การจดจำคำพูดเข้าถึงได้มากขึ้น ซึ่งโปรเจ็กต์นี้จะมอบโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้ช่วยกันกำหนดอนาคตของการจดจำคำพูด ไม่ใช่เพื่อตัวเองเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงผู้มีความผิดปกติด้านการพูดอีกหลายล้านคนทั่วโลกด้วย
ในปี 2017 Google ขอความช่วยเหลือจากผู้ให้ข้อมูลนับล้านๆ คนทั่วโลกที่รู้จักกันในชื่อ Local Guide เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการช่วยเหลือพิเศษให้กับ Google Maps ปัจจุบัน มีข้อมูลเรื่องการรองรับเก้าอี้รถเข็นแล้วถึงกว่า 15 ล้านจุดใน Maps โดยสามารถดูได้โดยคลิกที่คำอธิบายสถานที่ 2 บรรทัดใน Maps แล้วเลื่อนไปที่ "ข้อมูลเกี่ยวกับการช่วยเหลือพิเศษ" และเพราะเครือข่าย Local Guides, เจ้าของธุรกิจ และผู้ให้ข้อมูลอื่นๆ ทั่วโลกที่เติบโตขึ้น จึงมีการเพิ่มข้อมูลใหม่ๆ เข้ามาทุกวันเพื่อช่วยให้ผู้คนมั่นใจในการไปยังสถานที่ที่พวกเขาจำเป็นต้องไป
ในปี 2017 Google ขอความช่วยเหลือจากผู้ให้ข้อมูลนับล้านๆ คนทั่วโลกที่รู้จักกันในชื่อ Local Guide เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการช่วยเหลือพิเศษให้กับ Google Maps ปัจจุบัน มีข้อมูลเรื่องการรองรับเก้าอี้รถเข็นแล้วถึงกว่า 15 ล้านจุดใน Maps โดยสามารถดูได้โดยคลิกที่คำอธิบายสถานที่ 2 บรรทัดใน Maps แล้วเลื่อนไปที่ "ข้อมูลเกี่ยวกับการช่วยเหลือพิเศษ" และเพราะเครือข่าย Local Guides, เจ้าของธุรกิจ และผู้ให้ข้อมูลอื่นๆ ทั่วโลกที่เติบโตขึ้น จึงมีการเพิ่มข้อมูลใหม่ๆ เข้ามาทุกวันเพื่อช่วยให้ผู้คนมั่นใจในการไปยังสถานที่ที่พวกเขาจำเป็นต้องไป
"การเข้าถึงข้อมูลนำมาซึ่งเส้นทางสู่อิสรภาพและเสรีภาพ แล้วทำไมเราไม่ทำให้คนพิการได้รับโอกาสแบบเดียวกันนั้นล่ะ"
Luis Durán, Local Guide, ซานโตโดมิงโก สาธารณรัฐโดมินิกัน
"การเข้าถึงข้อมูลนำมาซึ่งเส้นทางสู่อิสรภาพและเสรีภาพ แล้วทำไมเราไม่ทำให้คนพิการได้รับโอกาสแบบเดียวกันนั้นล่ะ"
Luis Durán, Local Guide, ซานโตโดมิงโก สาธารณรัฐโดมินิกัน
สิ่งที่คุณทำได้เพื่อช่วยเหลือ
การกระทำของคุณมีความหมาย นี่คือสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อช่วยสร้างโลกที่เปิดกว้างมากยิ่งขึ้น